บริการตรวจทดสอบรับรองรถยกใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิง และ บริการ ตรวจสอบ ทดสอบเครน, ปั้นจั่น (Load Test เครน) ตามกฎกระทรวง

บริการตรวจทดสอบรับรองรถยกใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิง

ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง รถฟอร์คลิฟท์ (Forklift) ที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงพ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๗ การติดตั้งอุปกรณ์และส่วนควบของระบบก๊าซต้องได้รับการตรวจทดสอบรับรองอย่างน้อยปีละครั้ง (รถยกใช้ก๊าซ LPG ตรวจทดสอบรับรอง ปีละ 1 ครั้ง) โดยวิศวกรผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือผู้ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ

บริการตรวจสอบ ทดสอบเครน,ปั้นจั่น

บริการ ตรวจสอบ ทดสอบเครน, ปั้นจั่น (Load Test เครน) ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๕๒ กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นปีละไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้งตามประเภทและลักษณะของงาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด หลักเกณฑ์ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น (เครน) พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งใช้แบบตรวจ ปจ.1 หรือ คป.1 ในกรณีที่เป็นปั้นจั่นอยู่กับที่ และ ปจ.2 หรือ คป.2 ในกรณีที่เป็นปั้นจั่นเคลื่อนที่

ลงทะเบียนบริการ

ความถี่ในการทดสอบปั้นจั่น

ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น

(๑) ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง

ขนาดพิกัดยกความถี่ในการทดสอบ
ไม่เกิน 3 ตัน6 เดือน
มากกว่า 3 ตัน ขึ้นไป3 เดือน

**ที่ไม่มีรายละเอียดขนาดพิกัดยก ในการทดสอบให้ทดสอบโดยใช้ขนาดพิกัดยกตามที่วิศวกรกำหนด

(๒) ปั้นจั่นที่ใช้งานอื่น ๆ (Overhead Cranes ฯลฯ)

ขนาดพิกัดยกความถี่ในการทดสอบ
1-3 ตัน1 ปี
3-50 ตัน6 เดือน
มากกว่า 50 ตัน3 เดือน

**ที่ไม่มีรายละเอียดขนาดพิกัดยก ในการทดสอบให้ทดสอบโดยใช้ขนาดพิกัดยกตามที่วิศวกรกำหนด

การทดสอบการรับน้ำหนัก

ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น

(ก) ปั้นจั่นใหม่

ขนาดพิกัดยกน้ำหนักที่ใช้ทดสอบ
ไม่เกิน 20 ตัน1 – 1.25 เท่า
20-50 ตันเพิ่มอีก 5 ตันจากตารางพิกัดยก

(ข) ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว

ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนัก ที่ใช้งานจริงสูงสุดโดยไม่เกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด กรณีไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยที่ผู้ผลิตกำหนด
ให้ทดสอบการรับน้ำหนักตามที่วิศวกรกำหนด น้ำหนักที่ใช้ทดสอบการยก อาจใช้การทดสอบด้วยน้ำหนักจริง หรือทดสอบด้วยน้ำหนัก
จำลอง (Load Simulation)